เคล็ดลับการบำรุงรักษาและดูแลรถยก ให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน

เคล็ดลับการบำรุงรักษาและดูแลรถยก

การรักษาบำรุงรถยก คือ กระบวนการตรวจเช็คเพื่อให้แน่ใจว่าระบบการทำงานของรถยก สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อการใช้งาน การตรวจสอบรายวันก่อนการใช้งานของพนักงานแต่ละคนและการดูแลรักษาอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นประจำ รถยกของคุณสามารถให้บริการได้นานหลายปีถ้ามีการดูแลและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม

หากคุณละเลยการบำรุงรถยกจะเกิดอะไรขึ้น

การละเลยในการดูแลรักษารถยกอาจทำให้ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เปลี่ยนเป็นปัญหาที่รุนแรงและมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานในการซ่อมแซมและจะส่งผลกระทบต่อการทำงานขององค์กรหรือโรงงาน เราได้สรุปผลกระทบของการละเลยได้ดังนี้

  1. เสี่ยงอุบัติเหตุ: การละเลยการตรวจบำรุงรักษารถยก อาจทำให้เกิดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ระบบเบรกที่ไม่ทำงาน, ไม่สามารถควบคุมแขนยกได้ ซึ่งอาจเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงสำหรับผู้ขับขี่และผู้ใช้งานอื่นๆ บนพื้นที่งานหรือบริเวณที่ใช้งานรถยก มีรายงานการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานรถยกประมาณ 85 รายต่อปี และเหตุอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถยกมีจำนวนถึง 34,900 รายต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ของเหตุการณ์เหล่านี้มีที่มาจากผู้ปฏิบัติการงานไม่ได้ผ่านการอบรมรถยก แต่บางส่วนก็อาจมาจากการละเลยในการดูแลรักษา ไม่ได้ตรวจเช็คสภาพรถยกว่ามีสภาพการใช้งานที่ดีและปลอดภัยหรือไม่
  2. ความเสียหายที่เพิ่มขึ้น: การที่ไม่ได้ตรวจเช็คทำให้เราละเลยจุดเสียหายของอุปกรณ์ หรือส่วนประกอบของรถยก หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขทันที ปัญหาอาจพัฒนาเป็นระยะยาวและมีความรุนแรงขึ้น ทำให้การซ่อมแซมที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
  3. การลดอายุการใช้งานของรถยก: ความเสียหายของอุปกรณ์เล็กๆน้อยๆ ที่ไม่ได้ซ่อมแซมในทันที จะก่อให้เกิดสึกหรอของอุปกรณ์อยู่บ่อยครั้ง เจ้าขององค์กรจำเป็นต้องส่งซ่อมแซมหรืออุปกรณ์ที่ชำรุดอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ลดประสิทธิภาพในการทำงานของรถยกในระยะยาว
  4. การสูญเสียเวลาและเงิน: การหยุดการใช้งานรถยก เพื่อการซ่อมแซมและการบำรุงรักษาโดยที่ไม่ได้คาดคิด เป็นการสูญเสียเวลาในการทำงาน ส่งผลกระทบต่อยอดผลิตรายวัน และค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา

แผนการตรวจและซ่อมบำรุงรถยก

แผนการตรวจและซ่อมบำรุงรถยก ควรเป็นอย่างไร

ในการตรวจซ่อมบำรุงรถยก เพื่อไม่ให้ผู้ใช้รถยกเสียเวลาในการตรวจสอบ องคืกรมักจะจัดแผนการตรวจตามความจำเป็น เนื่องจากในระบบรถยกอาจมีบางส่วนไม่จำเป็นต้องตรวจบ่อย  จึงได้แบ่งการตรวจเช็คออกเป็นการบำรุงรักษารายวัน บำรุงรักษารายเดือน และการบำรุงรักษาแบบ 6 เดือน -1 ปี  ซึ่งมีรายละเอียดการตรวจสอบดังนี้

1.การบำรุงรักษารถยกรายวัน

การตรวจสอบเมื่อเครื่องปิด:

  • การรั่วไหลของเชื้อเพลิง, น้ำมันไฮดรอลิก, น้ำมันเครื่อง, หรือน้ำหล่อเย็นของหม้อน้ำ
  • สภาพและแรงดันของลมยาง
  • การปรับแต่งโหลดของระบบรักษาความปลอดภัยของรถยก
  • ท่อไฮดรอลิก, โซ่เสา, สายเคเบิล

การตรวจสอบเมื่อเครื่องเปิด:

  • ระบบคันเร่งเร่ง
  • ระบบเบรก
  • การทำงานของระบบเบรกจอดรถ
  • การทำงานของพวงมาลัย
  • การควบคุมการขับเคลื่อนไปข้างหน้าและถอยหลัง

2.การบำรุงรักษารถยกรายเดือน

  • ตรวจสอบโครงสร้างของรถยก เช่น พบรอยแตกหรือไม่
  • ทำการเปลี่ยนเครื่อง และไส้กรอง
  • ปรับจังหวะการเดินของเครื่องยนต์
  • ตรวจสอบสายพาน
  • ตรวจสอบการทำงานของลิฟต์ยก การเอียง และกระบอกสูบ ทำงานปกติหรือไม่
  • ตรวจสอบการทำงานของแบตเตอรี่ในรถยกไฟฟ้า ระยะเวลาพลังงานในแบตเตอรี่อยู่นานตามมาตรฐานหรือไม่

ตรวจสอบการทำงานของแบตเตอรี่ในรถยกไฟฟ้า

3.การบำรุงรักษาทุก 6เดือน หรือ 1 ปี

ในการตรวจาสอบในระยะเวลานี้ขึ้นอยู่กัน รถยกแต่ละยี่ห้อ ที่จะมีคำแนะนำของผู้ผลิตต่างกันออกไป การตรวจเช็ค และบำรุงรักษาโดยรวมมีรายละเอียดดังนี้

  • การตรวจสอบอรอยแตก บริเวณ โครงสร้าง แป้นเหยียบและเบรก ลิฟท์ ลูกกลิ้งขนส่ง ท่อ
  • การทำความสะอาดระบบของรถยก รวมถึงหม้อน้ำของรถยก
  • ปรับแบริ่ง คลัตช์ กระบอกเอียง บูชรองรับเสา
  • เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเบรก สารหล่อเย็นเครื่องยนต์ น้ำมันหล่อลื่น เปลี่ยนไส้กรอง
  • เช็ตน็อต และสลักเกลียวหัวเครื่องยนต์
  • ตรวจสอบรอยเชื่อมเสาหลัก
  • การตรวจสอบแบตเตอรี่และระบบไฟฟ้าสำหรับรถยกไฟฟ้า หากทำงานไม่ปกติให้ทำการเปลี่ยนแบตใหม่

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงแค่ตัวอย่างในการจัดแผนตรวจและบำรุงรักษารถยก ทั้งนี้แผนการขึ้นอยู่กับช่างเทคนิคขององค์กรที่จะประเมินจากการใช้งานจริงภายในองค์กร ซึ่งปัจจัยที่มักใช้ในการพิจารณาการตรวจมีตามหัวข้อถัดไป

ความถี่ในการตรวจ ซ่อมบำรุงรถยกวัดจากอะไร

ความถี่ในการตรวจ ซ่อมบำรุงรถยกวัดจากอะไร

การกำหนดความถี่ในการตรวจสอบรถยกเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้ระบบทำงานได้อย่างเสถียรและปลอดภัย ขั้นตอนแรกในการกำหนดความถี่นี้คือการวิเคราะห์ทางวิศวกรรมของอุปกรณ์โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังนี้:

  1. อายุ สภาพ และคุณค่าของอุปกรณ์: ความถี่ในการตรวจสอบควรพิจารณาอายุของอุปกรณ์ สภาพปัจจุบันของอุปกรณ์ว่ามีการสึกหรอ หรือปัญหาใดๆ ที่ต้องการการแก้ไข และความสำคัญของอุปกรณ์ในการทำงานของระบบทั้งหมด
  2. การใช้งานหนักแค่ไหน: การใช้งานรถยกในสภาวะที่มีการใช้งานมากหรือการใช้งานในการยกของหนักมาๆ อาจต้องการความถี่ในการตรวจสอบที่มากขึ้น
  3. ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย: ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง ที่ผู้ผลิตแนะนำในแต่ละยี่ห้อ
  4. เวลาทำการ: ความถี่ในการตรวจสอบควรพิจารณาเวลาที่เหมาะสมในการทำการบำรุงรักษาโดยพิจารณาถึงความสะดวกและความพร้อมในการทำงาน
  5. คำสั่งงานบำรุงรักษาที่ผ่านมา: การตรวจสอบประวัติคำสั่งงานบำรุงรักษาที่ผ่านมาช่วยให้สามารถกำหนดความถี่ในการตรวจสอบในอนาคตได้อย่างเหมาะสม

ด้วยข้อมูลที่ได้รับจากการวิเคราะห์ต่างๆ การกำหนดความถี่ในการตรวจสอบรถยกจึงจะสามารถทำให้การบำรุงรักษารถยกมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการของการใช้งานและเงื่อนไขการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

สรุป

การบำรุงรักษาและการดูแลรักษารถยกในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีความสำคัญ เนื่องจากมีผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ดังนั้น, การมีการบำรุงรักษาและการดูแลรักษารถยกอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

บทความที่เกี่ยวข้อง